ภารกิจ |
กิจกรรมที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
» |
ดำเนินการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน และวางโครงสร้างในด้านดำเนินการด้านการบริหาร ด้านบุคลากร ด้านสถานที่และอุปกรณ์การวิจัยและดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาห้องปฏิบัติการทางด้านเทคโนโลยีอาหารสัตว์และฟาร์มทดลองที่มีอยู่แล้วให้ได้มาตรฐาน |
» |
ดำเนินการจัดสร้างระบบสารสนเทศและรวบรวมจัดทำฐานข้อมูลแหล่งทรัพยากรและเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน ทั้งในประเทศและสากล และเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายทางเทคโนโลยีสารสนเทศและเพื่อการวางแนวทางในการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน |
» |
ดำเนินการจัดทำแผนการวิจัย ศึกษา ค้นคว้า และการผลิตบัณฑิตควบคู่กันไปในสาขาวิทชาเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน เพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในระบบการผลิตของเกษตรกร อุตสาหกรรม และสามารถแก้ปัญหาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอาหารสัตว์ในแต่ละประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
» |
ดำเนินการสร้างเครือข่ายการวิจัย ศึกษา ค้นคว้า ร่วมกับนักวิจัยและองค์กรต่าง ๆ ในประเทศภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศในเขตร้อน และภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก |
» |
ดำเนินการให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรอาหารสัตว์ เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ ถ่ายทอดเทคโนโลยี การใช้ประโยชน์ทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน ในระดับประเทศและสากล |
โครงการที่คาดว่าจะดำเนินการให้สำเร็จ

โครงการทรัพยากรอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง |
» |
การศึกษาวิจัยและพัฒนาการนำใช้วัสดุเหลือใช้ทางเกษตรในการเพิ่มศักยภาพการใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสัตว์เคี้ยวเอื้อง |
» |
การวิจัยและพัฒนาการเพิ่มศักยภาพกระบวนการหมักในรูเมน โดยใช้ทรัพยากรอาหารสัตว์ในท้องถิ่น
|
» |
การศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบการแปรรูปวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ในการใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องในเชิงพาณิชย์ |
» |
การศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบการให้อาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องโดยการใช้ทรัพยากรอาหารสัตว์ ในระบบการผลิตของเกษตรกร |
» |
การศึกษาวิจัยและพัฒนาการใช้ทรัพยากรอาหารสัตว์ (มันสำปะหลัง, ข้าวโพด, อ้อย) ในประเทศ เพื่อเป็นแหล่งโภชนะที่สำคัญในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง |
» |
การศึกษาวิจัยและพัฒนาแหล่งทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน เป็นอาหารสัตว์คุณภาพสูงในการผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้อง |

โครงการทรัพยากรอาหารไม่สัตว์เคี้ยวเอื้อง |
|
การศึกษาวิจัยและพัฒนาการใช้ทรัพยากรสมุนไพรในท้องถิ่น เพื่อการเพิ่มศักยภาพการผลิตของสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้อง (สุกร, สัตว์ปีก, สัตว์น้ำ) |
|
การศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบการแปรรูปวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ในการใช้เป็นอาหารสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้องในเชิงพาณิชย์
|
» |
การศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบการให้อาหารสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้อง โดยการใช้ทรัพยากรอาหารสัตว์ในระบบการผลิตของเกษตรกร |
» |
การศึกษาวิจัยและพัฒนาแหล่งทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน เป็นอาหารสัตว์คุณภาพสูงในการผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้อง |
» |
การศึกษาวิจัยและพัฒนาการตรวจสารพิษและสารตกค้างในแหล่งทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน |
โครงการพืชอาหารสัตว์ |
» |
การศึกษาวิจัยและพัฒนาการจัดสร้างแปลงหญ้าผสมถั่ว เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนะสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง
|
» |
การศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบการเก็บถนอมอาหารสัตว์ เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องในฤดูที่ขาดแคลน
|
» |
การศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์หญ้าอาหารสัตว์ และถั่วอาหารสัตว์ที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ ๆ ในเขตร้อน
|
» |
การศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบการปลูกพืชอาหารสัตว ์ร่วมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจในระบบของเกษตรกรที่เอื้อต่อการผลิตสัตว์เคี้ยวเอื้อง
|
|
ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 40002
โทรศัพท์/โทรสาร 043202368, email: trofrec@kku.ac.th |