|
การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
ไรน้ำนางฟ้า
( Fairy
Shrimps
)
Shrimps
) Shrimps
) เป็นสัตว์น้ำจำพวกกุ้งที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด
ซึ่งพบในแหล่งน้ำธรรมชาติมานานแล้ว
โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชาวบ้านเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า
“ ตัวเหนี่ยว
” หรือ
“ แมงอ่อนช้อย
” หรือ
“ แมงหางแดง
” หรือ
“ แมงแงว
” หรือ
“ แมงน้ำฝน
” โดยสามารถนำไรน้ำนางฟ้ามาประกอบอาหารได้
แต่ก็รู้จักกันอยู่ในวงจำกัด
เนื่องจากไรน้ำนางฟ้ามีวงชีวิตที่ไม่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี
และยังเป็นอาหารที่สัตว์น้ำต่างๆชอบกินรวมทั้งมนุษย์
ทำให้พบเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆในแหล่งน้ำธรรมชาติ
นักวิชาการของกรมประมงได้เริ่มดำเนินการศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้ามาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2530 โดยเรียกไรชนิดนี้
ว่า “ อาร์ทีเมียน้ำจืด
” เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางการประมง
คือเป็นอาหารมีชีวิตที่สำคัญต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
โดยเฉพาะการอนุบาลลูกปลาขนาดเล็กและใช้เลี้ยงปลาสวยงาม
แต่ไม่ประสบผลสำเร็จในการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าเท่าที่ควร
เพราะไข่ของไรน้ำนางฟ้ามีระยะในการพักตัว
ทำให้ดำเนินการฟักไข่ค่อนข้างยากมาก
ในปี พ.ศ. 2536
ศ.ดร.
ละออศรี
เสนาะเมือง
และทีมงาน
จากภาควิชาชีววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ได้ค้นพบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลก
และดำเนินการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับชีววิทยาและวิธีการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอย่างละเอียดมากขึ้น
ทำให้แนวทางการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าแจ่มใสขึ้น
มีเกษตรกรและผู้เลี้ยงปลาสวยงามจำนวนมากให้ความสนใจและทดลองเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
แต่ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าให้ได้ปริมาณมาก
และเลี้ยงอย่างต่อเนื่องได้
เนื่องจากยังมีปัญหาในเรื่องของการฟักตัวของไข่ไรน้ำนางฟ้าที่ยังค่อนข้างต่ำ
และการเตรียมอาหารของไรน้ำนางฟ้าให้เกิดอย่างต่อเนื่องได้
ภาควิชาประมง
คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสนใจในการศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
ถึงแม้จะไม่ได้รับงบประมาณในการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ก็ตาม
แต่ก็พยายามดำเนินการศึกษาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
รวมทั้งการศึกษาการเตรียมอาหารที่จะใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในหลายรูปแบบ
โดยเน้นไปที่วิธีการเลี้ยง
Chlorella เพราะ
Chlorella เป็นแพลงตอนพืชขนาดเล็กที่เจริญเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วทำให้น้ำเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว
หรือที่เรียกว่า
“การทำน้ำเขียว”
ทำให้มีอาหารที่จะใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งขณะนี้ทีมงานผู้ดำเนินการศึกษา
สามารถเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าและดำเนินการรวบรวมไข่ไรน้ำนางฟ้าได้อย่างง่ายๆ
ได้จำนวนมาก
และสามารถกระตุ้นให้ไข่เกิดการฟักตัวได้เร็ว
โดยมีอัตราการฟักตัวค่อนข้างสูงมาก
เป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับฟาร์มปลาสวยงามที่จะผลิตไรน้ำนางฟ้าเพื่อใช้เลี้ยงปลาสวยงามในฟาร์ม
หรือผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้ไรน้ำนางฟ้าเป็นอาหารในการเลี้ยงปลาสวยงามได้
ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับปรุงวิธีการ
และการทดลองซ้ำเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
เมื่อได้ผลเป็นที่แน่นอนแล้วจะได้นำเสนอรายละเอียดต่อไป
ไรน้ำนางฟ้าจัดเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
เป็นสัตว์จำพวกกุ้ง
ปู ( Crustacean ) จัดเป็นแพลงตอนสัตว์ขนาดใหญ่
คือ
เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ
2.0 - 3.5 เซนติเมตร
ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
พบได้ในช่วงต้นฤดูฝนในแหล่งน้ำท่วม
โดยเฉพาะในนาข้าว
Ruppert and Barnes (1994) จัดลำดับชั้นของไรน้ำนางฟ้าที่พบในประเทศไทย
ไว้ดังนี้
Kingdom
: Animalia
Phylum
: Arthropoda
Subphylum
: Crustacea
Class
: Branchiopoda
Subclass
: Sarsostraca
Order
: Anostraca
Family
: Thamnocephalidae
Genus
: Branchinella
Sayce, 1903
Family
: Streptocephalidae
Genus
: Streptocephalus
W. Baird, 1852
ไรน้ำนางฟ้ามีลำตัวยาวอ่อนนุ่ม
แบ่งออกเป็นปล้องๆชัดเจน
โครงร่างภายนอกเป็นเพียงเนื้อเยื่อบางๆไม่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว
แต่ก็มีการลอกคราบเช่นเดียวกับพวก
crustacean
เช่นกัน
ลำตัวของไรน้ำนางฟ้าแบ่งออกเป็น
3 ส่วน คือ หัว
อก และท้อง
ส่วนหัว
(Head)
มีลักษณะเด่นชัด
มีตารวม (compound
eyes)
ขนาดใหญ่ที่มีก้านตา
1 คู่ มีหนวด 2
คู่
แบบไม่แตกแขนง
(uniramous) คู่ที่ 1
มีขนาดเล็ก
ส่วนคู่ที่ 2
ค่อนข้างยาว
โดยเพศผู้หนวดคู่นี้จะขยายออกทำให้มีส่วนหัวใหญ่กว่าเพศเมีย
ส่วนอก
(Thorax)
แยกเป็นปล้องชัดเจน
และมักมีจำนวน
13 ปล้อง (บางชนิดอาจมีมากกว่านี้)
ส่วนของ 11
ปล้องแรกลักษณะคล้ายกันและมีขนาดใกล้เคียงกัน
แต่ละปล้องจะมีระยางค์
1 คู่
มีลักษณะแบนๆคล้ายใบไม้
(leaf-like appendages)
ใช้ในการว่ายน้ำ
กรองอาหาร
และหายใจ
เรียกระยางค์นี้ว่า
phyllopods หรือ phyllopodia
ส่วน 2
ปล้องสุดท้ายจะรวมกัน
มีอวัยวะเพศยื่นออกมา
คือเพศผู้จะมีท่อส่งน้ำเชื้อ
(penis) 1 อัน
ส่วนเพศเมียจะมีถุงไข่
1 ถุง
ส่วนท้อง
(Abdomen)
แยกเป็นปล้องชัดเจนเช่นกัน
มีจำนวน 6
ปล้อง แต่ละปล้องจะไม่มีระยางค์
ยกเว้นปล้องสุดท้ายจะมีระยางค์แบนๆเล็กๆแยกเป็น
2 แฉก
มีสีแดงสด
เรียกระยางค์นี้ว่า
caudal rami หรือ "cercopods" . ภาพที่
1 แสดงลักษณะภายนอกและภายในของไรน้ำนางฟ้า ที่มา : Ruppert and Barnes (1994) .
ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์น้ำจืดที่มีถิ่นที่อยู่ค่อนข้างจำกัดและพบเฉพาะในบางฤดูกาล
คือจะพบเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝนในแหล่งน้ำธรรมชาติตามแหล่งน้ำท่วม
โดยเฉพาะในนาข้าว
ทั้งนี้เนื่องจากเป็นอาหารที่ชื่นชอบของสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ
และไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการป้องกันตัว
เมื่อเจริญเติบโตจะเคลื่อนที่ในลักษณะหงายท้องว่ายน้ำไปเรื่อยๆ
ทำให้ถูกปลาหรือสัตว์น้ำชนิดต่างๆจับกินได้อย่างง่ายดาย
ประกอบกับมีวงชีวิตที่ไม่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี
ซึ่งไรน้ำนางฟ้าจะมีไข่ระยะพักตัว
หรือที่เรียกว่า
cyst
เหมือนกับไรน้ำส่วนใหญ่
ไข่ระยะพักตัว
หรือ cyst
นี้จะถูกปล่อยทิ้งให้แห้งอยู่ตามพื้นแหล่งน้ำที่มีการแห้งลงในช่วงฤดูแล้ง
เช่นในนาข้าว
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนและมีฝนตกลงมามากพอจนทำให้แหล่งน้ำหรือนาข้าวที่แห้งไปแล้วนั้นมีน้ำขังอยู่พอควร
ไข่ระยะพักตัว
หรือ cyst
ที่ตกอยู่ในดินก็จะฟักตัวออกมา
และจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
โดยกรองกินแพลงตอนพืชขนาดเล็กที่เกิดขึ้นในน้ำเป็นอาหาร
ใช้ระยะเวลาเพียง
7 - 14 วัน
ก็จะเจริญเป็นตัวเต็มวัยและมีความสมบูรณ์เพศ
จากนั้นไรน้ำนางฟ้าจะสามารถแพร่พันธุ์ได้
2 แบบ คือ
แบบใช้เพศ (Sexual
reproduction) และ
แบบไม่ใช้เพศ
(Asexual reproduction)
ซึ่งจากการแพร่พันธุ์ทั้ง
2 แบบ
ไรน้ำนางฟ้าเพศเมียสร้างไข่เข้ามาเก็บไว้ในถุงเก็บไข่ที่อยู่บริเวณส่วนท้ายของส่วนอก
ไข่ดังกล่าวจะเป็นไข่ที่มีเปลือกหนา
และจะถูกปล่อยออกจากถุงเก็บไข่ภายในเวลา
20 - 24 ชั่วโมง
หลังจากนั้นภายในเวลา
4- 6 ชั่วโมง
ไรน้ำนางฟ้าเพศเมียจะสร้างไข่ชุดใหม่เข้ามาในถุงฟักไข่ได้อีก
แล้วถูกปล่อยออกไปเช่นเดิมเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะมีปลา
หรือสัตว์น้ำชนิดอื่นๆเข้ามาในแหล่งน้ำแล้วกินไรน้ำนางฟ้าไป
แต่ถ้าหากไม่ถูกสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร
ไรน้ำนางฟ้าจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ
40 - 90 วัน
แล้วแต่ชนิดของไรน้ำนางฟ้า
สำหรับไข่ที่ไรน้ำนางฟ้าเพศเมียปล่อยออกมาจากถุงเก็บไข่นั้น
จะตกลงอยู่ที่ก้นแหล่งน้ำโดยจะไม่ฟักตัว
แต่ตัวอ่อนที่อยู่ในไข่ที่ยังมีน้ำขังในแหล่งน้ำจะมีการพัฒนาต่อไปจนเป็นตัวอ่อนที่สมบูรณ์
แล้วพักตัวอยู่ภายในไข่
จึงเรียกไข่ดังกล่าวว่า
ไข่ระยะพักตัว
หรือ cyst
ซึ่งไข่ระยะพักตัว
หรือ cyst
นี้จะต้องพักรอจนแหล่งน้ำนั้นแห้งไปในปีนั้น
แล้วรอจนฤดูกาลใหม่ของปีต่อมาเมื่อแหล่งน้ำได้รับน้ำฝนจึงจะฟักตัวออกมา
ชนิดของไรน้ำนางฟ้าในประเทศไทย
นุกูล และ
ละออศรี (2547)
ได้รายงานเกี่ยวกับไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลกที่พบในประเทศไทย
จำนวน 3 ชนิด
ดังนี้
1. ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร
(Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers
& Dumont, 2000) ลำตัวใสหรือสีฟ้า หางสีแดง
ลำตัวยาวประมาณ
1.5 -
2.
ไรน้ำนางฟ้าไทย
(Branchinella
thailandensis Sanoamuang, Saengphan
& Murugan, 2002)
มีลำตัวสีส้มแดงตลอดทั้งตัว
ตัวยาวประมาณ
1.7 -
3.
ไรน้ำนางฟ้าสยาม
(Streptocephalus
siamenesis Sanoamuang & Saengphan, 2006)
ลักษณะ
ตัวใส
สีตัวบางครั้งเป็นสีฟ้าอ่อน
หางสีแดง
ตัวยาวประมาณ
1.1 -
ภาพที่
2 ถังไฟเบอร์ขนาด
2 ตารางเมตร
ลึก
ภาพที่
3
ไรน้ำนางฟ้าที่เลี้ยงในถังไฟเบอร์ . ผลการศึกษาการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า พ.ศ.2554 จากการศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้ามาหลายปี ทำให้พบวิธีการเก็บไข่ การกระตุ้นให้ไข่ฟักตัว และแนวทางการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าที่ให้ผลดี ขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว อ่านผลการศึกษา
เป็นการศึกษาทดลองที่ไม่ได้มีการรับทุนการศึกษาจากแหล่งใด ซึ่งจากการศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้ามาหลายปี ทำให้พบข้อเท็จจริงใหม่ๆแตกต่างไปจากที่นักวิชาการส่วนใหญ่ได้เขียนไว้ พร้อมทั้งวิธีการเก็บไข่ การกระตุ้นให้ไข่ฟักตัว และแนวทางการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าที่ให้ผลดี ดังนี้ ชนิดของไรน้ำนางฟ้าที่ศึกษา ไรน้ำนางฟ้าที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากการออกพื้นที่ในช่วงฤดูร้อน เดือนมีนาคม - พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อเก็บตัวอย่างดินจากแปลงนาในอำเภอบ้านฝาง และอำเภอบ้านทุ่ม จังหวัดขอนแก่น แล้วนำดินมาย่อยร่อนผ่านตะแกรง จากนั้นจึงทยอยนำดินไปแช่น้ำในกะละมังเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 45 เซนติเมตร แล้วเติมน้ำเขียวในวันถัดไปวันละ 1 ลิตร ประมาณ 10 - 15 วัน จึงใช้กระชอนผ้าช้อนหาไรน้ำนางฟ้า ผลการดำเนินการพบไรน้ำนางฟ้าจำนวน 2 ชนิด คือ
1.
ดินจากแปลงนาในอำเภอบ้านฝาง
พบไรน้ำนางฟ้าชนิด
ไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella
thailandensis)
ลำตัวมีสีส้มแดงตลอดทั้งตัว
โตเต็มวัยในเวลา
12 - 15 วัน และมีความยาวประมาณ
2.0 -
2.
ดินจากแปลงนาในอำเภอบ้านทุ่ม
พบไรน้ำนางฟ้าชนิด
ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร
(Streptocephalus sirindhornae)
ลำตัวใสแกมแดง
โตเต็มวัยในเวลา
15 - 20 วัน และมีความยาวประมาณ
1.5 - โดยดินจากแปลงนาทั้ง 2 แหล่งพบไรน้ำนางฟ้าเฉลี่ย 1 ตัว จากดินจำนวน 2 กิโลกรัม เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าแต่ละชนิดในกะละมัง ทำการรวบรวมไข่ (cyst) เพื่อใช้ฟักตัวสำหรับการศึกษาต่อไป ภาพที่
1
ไรน้ำนางฟ้าไทยเพศเมีย . ภาพที่
2
ไรน้ำนางฟ้าไทยเพศผู้ . ภาพที่ 3 ไข่ของไรน้ำนางฟ้าไทย . ภาพที่
4
ไรน้ำนางฟ้าสิรินธรเพศเมีย . ภาพที่ 5 ไข่ของไรน้ำนางฟ้าสิรินธร .
ภาพที่ 6 เปรียบเทียบขนาดของไรน้ำนางฟ้าไทย(บน-ล่างซ้าย)และไรน้ำนางฟ้าสิรินธร(กลาง-ล่างขวา)ที่อายุ 18 วันเท่ากัน . ภาพที่ 7 เปรียบเทียบสีและขนาดไข่ของไรน้ำนางฟ้าไทย(ซ้าย)และไรน้ำนางฟ้าสิรินธร(ขวา) . พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของไรน้ำนางฟ้า จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของไรน้ำนางฟ้า ทำให้พบข้อเท็จจริงใหม่ที่ต่างไปจากจากเอกสาร ตำรา หรือข้อเขียนที่นักวิชาการทั้งของไทยและต่างประเทศได้เขียนไว้ กล่าวคือ นักวิชาการทั้งหลายได้รายงานไว้ว่า พฤติกรรมการผสมพันธุ์ของไรน้ำนางฟ้าจะคล้ายคลึงกับพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของอาร์ทีเมีย (Artemia) คือไรน้ำนางฟ้าเพศผู้จะใชหนวดคู่ที่ 2 ซึ่งมีขนาดใหญ่เกาะด้านหลังของเพศเมีย แล้วว่ายน้ำติดกันไปเรื่อยๆ ผลจากการศึกษา พบว่าพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของไรน้ำนางฟ้าทั้ง 2 ชนิด คือ ไรน้ำนางฟ้าไทย และไรน้ำนางฟ้าสิรินทร จะไม่มีพฤติกรรมการเกาะหลังเหมือนกับอาร์ทีเมีย (Artemia) ซึ่งผู้ที่เคยเลี้ยงไรน้ำนางฟ้ามาแล้วก็คงจะไม่เคยเห็นว่าไรน้ำนางฟ้ามีการเกาะหลังว่ายน้ำติดกันไป แต่จะมีวิธีการผสมพันธุ์โดยไรน้ำนางฟ้าเพศผู้จะว่ายน้ำเพื่อหาเพศเมียไปเรื่อยๆ เมื่อพบเพศเมียที่มีรังไข่ที่สมบูรณ์(ไม่มีไข่ในถุงไข่) จะว่ายน้ำเข้าไปใกล้ๆทางด้านข้างแล้วใช้หนวดคู่ที่ 2 ซึ่งมีขนาดใหญ่เกาะที่ส่วนอกเหนือรังไข่ จากนั้นจะงอตัวเอาส่วนอกบริเวณที่มีท่อส่งน้ำเชื้อไปอยู่เหนือส่วนอกบริเวณที่มีถุงไข่ของเพศเมีย แล้วปล่อยถุงน้ำเชื้อเข้าไปในตัวเพศเมีย (คล้ายกับพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของกุ้งทะเล) จากนั้นเพศผู้จะผละออกจากตัวเพศเมียทันที ซึ่งพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของไรน้ำนางฟ้าดังที่กล่าวมานี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก จนสังเกตุแทบไม่ทัน . วิธีการรวบรวมไข่ของไรน้ำนางฟ้า การเก็บรวบรวมไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าจะยากกว่าการรวบรวมไข่ของอาร์ทีเมีย เนื่องจากไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าจะจมลงสู่พื้นก้นบ่อ นอกจากนั้นวิธีการเก็บรวบรวมไข่ (cyst) และการกระตุ้นระหว่างการเก็บไข่ของไรน้ำนางฟ้า จะมีผลต่ออัตราการฟักตัวจากไข่ของลูกไรน้ำนางฟ้าอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะต้องใช้เวลาในการให้ไ่ข่ได้มีเวลาแช่อยู่ในน้ำนานหลายวันแล้ว (ตามที่ทีมงานของ ดร.ละออศรีค้นพบ) ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกหลายประการ คือ 1. ความสะอาด ปัจจัยในเรื่องของความสะอาดแยกเป็น 2 ปัจจัยย่อย คือ 1.1 การเตรียมบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ควรเตรียมบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไรน้ำนางฟ้าไว้โดยเฉพาะ เป็นบ่อที่มีพื้นราบเรียบ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ควรเป็นบ่อที่มีการออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการรวบรวมไข่ที่ตกลงที่พื้นก้นบ่อได้อย่างสะอาด และทำได้ทุกวัน หรือหากเก็บวันละไม่มากนักก็อาจใช้กะละมังความจุประมาณ 30-50 ลิตรก็ได้ 1.2 ภาชนะสำหรับรวบรวมไข่ เป็นภาชนะเล็กๆที่สามารถใส่น้ำเก็บไว้ได้ประมาณ 10-15 วัน โดยน้ำไม่ระเหยแห้งไปหมด เช่น กล่องพลาสติก กล่องโฟม ชาม หรือแก้วน้ำ ปัจจัยในเรื่องความสะอาดนี้ดำเนินการโดย ช้อนไรน้ำนางฟ้าที่สมบูรณ์เพศแล้วจากบ่อเลี้ยงมาปล่อยในบ่อพ่อแม่พันธุ์ อัตราประมาณ 5 ตัวต่อลิตร อาจเน้นเลือกเพศเมียให้มากกว่าเพศผู้ กรองน้ำเขียวให้เป็นอาหาร เช้าวันต่อมาจึงรวบรวมไข่ของไรน้ำนางฟ้าที่จมอยู่ที่พื้นก้นบ่อ การเตรียมบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์แบบนี้จะช่วยให้รวบรวมไข่ได้ง่าย มีขยะหรือตะกอนติดมาน้อย และที่สำคัญ ไข่ที่รวบรวมมาเกือบทั้งหมดมีอายุเท่ากัน คือ วันที่ 1 นอกจากนั้นหากเกิดความบอบช้ำกับตัวไรน้ำนางฟ้าจากวิธีการรวบรวมไข่ ก็จะเกิดเฉพาะในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เท่านั้น ไม่กระทบกับไรทั้งหมดในบ่อเลี้ยง จากนั้นทำความสะอาดไข่ที่รวบรวมได้โดยเทผ่านกระชอนช่องตาห่าง (ดูจากภาพที่ 10) เพื่อกำจัดตะกอนใหญ่ แล้วเทผ่านกระชอนผ้าโอล่อน (ผ้าตาถี่) ก็จะได้ไข่ของไรน้ำนางฟ้าที่พอจะสังเกตุเห็นได้ จึงนำไปใส่ในภาชนะสำหรับรวบรวมไข่ที่เตรียมไว้ โดยใส่น้ำไว้เกือบเต็ม ภาพต่อไปนี้เป็นภาพชุดแสดงการใช้กะละมังความจุประมาณ 30 ลิตร เป็นบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไรน้ำนางฟ้าไทย และขั้นตอนการรวบรวมไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าไทย
ภาพที่ 8 การใช้กะละมังความจุ 30 ลิตร เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ และขั้นตอนการรวบรวมไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้า . . การแยกเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ถ้าไม่ต้องการจำนวนไข่มากนักต่อวัน อาจเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในภาชนะที่เล็กลงไปอีก เช่น กะละมังขนาด 3-4 ลิตร ขวดเลี้ยงปลากัดขนาด 2 ลิตร (ขนาด 4 x 9 นิ้ว) คัดเฉพาะแม่พันธุ์ที่มีไข่แก่มาปล่อย 20-30 ตัว เช้าวันถัดมาก็สามารถเทรวบรวมไข่ได้ จะได้ไข่วันละ 4,000- 6,000 ฟอง อย่างง่ายดาย
ภาพที่ 9 การใช้กะละมังความจุ 4 ลิตร และขวดเลี้ยงปลากัดขนาด 2 ลิตร (ขนาด 4 x 9 นิ้ว) เลี้ยงแม่พันธุ์ไรน้ำนางฟ้าเพื่อรวบรวมไข่ . สำหรับไรน้ำนางฟ้าสิรินธรซึ่งมีไข่ขนาดเล็กกว่าไรน้ำนางฟ้าไทย (ภาพที่ 7 ) ไข่จะสามารถรอดผ่านกระชอนผ้าเนื้อผ้าสีขาวออกไปได้ และกระชอนผ้าเนื้อหนาที่ไข่ไรน้ำนางฟ้าสิรินธรรอดผ่านไปไม่ได้จะไม่มีขายตามร้าน ต้องซื้อผ้าเนื้อหนามาเย็บทำกระชอนเอง
ภาพที่ 10 เปรียบเทียบผ้าไนล่อนธรรมดาและผ้าไนล่อนที่เนื้อหนามากขึ้นเพือใช้เก็บไข่ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร . 2. จำนวนวันในการแช่ไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้า ปัจจัยในเรื่องจำนวนวันที่ควรจะแช่ไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าไว้ในน้ำ จะขึ้นกับชนิดของไรน้ำนางฟ้าและความสะอาดในภาชนะสำหรับรวบรวมไข่ คือ 2.1 ไรน้ำนางฟ้าไทย หากทำความสะอาดได้ดีจะแช่ไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าไว้ในน้ำประมาณ 8-10 วัน ก็สามารถนำไข่ไปทำให้แห้งได้ แต่ถ้าไม่สามารถทำความสะอาดได้ดี ยังมีตะกอนหรือเมือกติดมามาก ก็ควรแช่ไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าไว้ในน้ำประมาณ 14-20 วัน จึงนำไข่ไปทำให้แห้ง 2.2 ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร ไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าสิรินธรจะมีความสามารถในการฟักตัวได้ คือ หากทำความสะอาดได้ดีเมื่อแช่ไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าสิรินธรไว้ 6 วัน ตัวอ่อนจะสามารถฟักออกจากไข่ได้ในวันที่ 7 และจะฟักตัวออกจนหมดทุกฟองในวันที่ 8-9 ดังนั้นจึงควรนำไข่ไปทำให้แห้งเมื่อแช่ไข่ได้ 6 วัน แต่ถ้าไม่สามารถทำความสะอาดได้ดี ยังมีตะกอนหรือเมือกติดมามาก ก็ควรแช่ไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าสิรินธรไว้ในน้ำประมาณ 12-15 วัน จึงนำไข่ไปทำให้แห้ง
ภาพที่ 11 วิธีการตากหรืออบไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้า . 3. วิธีการกระตุ้นให้ไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าฟักตัวได้ดีขึ้น ไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าที่ทำให้แห้งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นไรน้ำนางฟ้าชนิดใด หากต้องการให้ไข่ฟักตัวได้ดีขึ้นจะต้องมีการกระตุ้น โดยอาศัยการเลียนแบบจากธรรมชาติ กล่าวคือ ไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าที่ตกอยู่ที่พื้นก้นแหล่งน้ำที่แห้งในฤดูแล้งนั้น เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนกว่าที่จะมีฝนมากจนเริ่มมีน้ำท่วมขัง พื้นก้นแหล่งน้ำจะต้องเปียกแล้วแห้งหลายครั้งมาก่อน แสดงว่าในธรรมชาติไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าจะต้องได้รับน้ำหลายครั้งก่อนการฟักตัว ดังนั้นการทำให้ไข่ของไรน้ำนางฟ้าฟักตัวได้ดีขึ้น จึงควรนำไข่ของไรน้ำนางฟ้าที่ทำให้แห้งสนิท 3-5 วันมาแล้ว มาทำให้ชุ่มน้ำเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปผึ่งแดดให้แห้ง วันละครั้ง ทำวันเว้นวันประมาณ 3 ครั้ง เก็บแห้งไว้ 3-5 วัน ก็จะสามารถนำมาฟักซึ่งไข่จะมีการฟักตัวได้ดี
ภาพที่ 12 วิธีการกระตุ้นให้ไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าฟักตัวได้ดีขึ้น . เนื่องจากการรวบรวมไข่ วิธีการเก็บไข่ และการตากไข่ของไรน้ำนางฟ้า สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน ดังนั้นอาจมีรูปแบบอื่นๆในการฟักไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าอีกก็ได้ ภาพที่ 13 ภาชนะอื่น ๆ ที่ใช้รวบรวมไข่ไรน้ำนางฟ้า เช่น ถ้วยขนม ถ้วยน้ำ กระดาษกรองทำเป็นกระทง หรือถ้วยไอสครีม . วิธีการฟักไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้า ไข่ (cyst) ของไรน้ำนางฟ้าที่ทำให้แห้งและผ่านการกระตุ้นแล้ว เมื่อนำมาใส่น้ำเพื่อให้ไข่ฟักตัว ไข่ที่แห้งสนิทดีจะลอยตัวที่ผิวน้ำ และมักจะลอยขึ้นไปติดแห้งอยู่ตามขอบของภาชนะที่ใช้ฟัก ทำให้ไข่ส่วนใหญ่ไม่ได้ฟักตัว ดังนั้นจึงนิยมใส่ไข่ของไรน้ำนางฟ้าลงในถุงผ้าโอล่อน เมื่อลูกของไรน้ำนางฟ้าฟักตัวก็จะลอดผ่านช่องตาของผ้าโอล่อนออกมาอยู่ในภาชนะ ไข่ของไรน้ำนางฟ้าไทยจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 10-14 ชั่วโมง ส่วนไข่ของไรน้ำนางฟ้าสิรินธรจะใช้เวลาในการฟักตัวค่อนข้างมาก คือใช้เวลาประมาณ 24-30 ชั่วโมง ตัวอ่อนของไรน้ำนางฟ้าทั้งสองชนิดที่ฟักออกจากไข่ จะมีขนาดค่อนข้างเล็กมาก และต้องการอาหารหลังจากการฟักตัว 4-6 ชั่วโมง อาหารที่เหมาะสมที่สุด คือ Chlorella หรือที่นักเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนิยมเรียกว่า "น้ำเขียว"
ภาพที่ 14 วิธีการฟักไข่ของไรน้ำนางฟ้า . วิธีการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าสามารถเลี้ยงได้ทั้งในภาชนะ เช่นกะละมัง ถังพลาสติก ในบ่อซิเมนต์ และบ่อดิน อาหารหลักที่ใช้ในการเลี้ยง คือ Chlorella หรือที่นักเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนิยมเรียกว่า "น้ำเขียว" ดังนั้นผู้ที่ต้องการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าจำเป็นที่จะต้องศึกษาและทดลองเลี้ยง Chlorella ให้สามารถทำได้อย่างจริงจัง ปกติ "น้ำเขียว" ที่กล่าวถึงกันนั้นเป็นน้ำที่เกิดจากการแพร่ขยายของแพลงตอนพืชเซลเดียวที่ ที่อยู่ในสกุล Chlorella ซึ่งเป็นสาหร่ายเซลเดียวที่มีขนาดเล็กมาก ไรน้ำนางฟ้าซึ่งกินอาหารโดยการกรองอาหารจากน้ำเข้าปากที่มีขนาดเล็ก จึงสามารถกิน Chlorella เป็นอาหารได้อย่างดี และมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการเพาะเลี้ยง Chlorella หรือการทำน้ำเขียวจึงมีความสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอย่างยิ่ง โดยสามารถขอหัวเชื้อ Chlorella ได้จากศูนย์วิจัยประมง ฯ หรือ สถานีประมง (แล้วแต่จังหวัด) หัวเชื้อสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน สำหรับการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าสามารถดำเนินการได้ ดังนี้ 1. การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในภาชนะขนาดเล็ก การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในภาชนะขนาดเล็ก เช่น ถังพลาสติคสี่เหลี่ยม ถังน้ำ หรือ กะละมัง ที่มีความจุน้ำประมาณ 20-100 ลิตร 1.1 การเพาะเลี้ยง Chlorella ควรเตรียมน้ำเขียว หรือเพาะเลี้ยง Chlorella ในภาชนะที่มีความจุประมาณ 50-200 ลิตร เช่นกะละมัง ถังซิเมนต์กลม หรือตู้กระจก ทำได้ดังนี้ 1.1.1 การเพาะเลี้ยง Chlorella โดยการเลี้ยงปลา การทำน้ำเขียวโดยการเลี้ยงปลา เช่น ปลาหางนกยูง หรือ ปลาทอง ควรใช้บ่อซิเมนต์ขนาด ความจุ 100-200 ลิตร ตั้งอยู่ภายนอกอาคาร ได้รับแสงบ้างพอควร ถ้าเลี้ยงปลาหางนกยูง ควรเลี้ยงจำนวน 40-60 ตัว ถ้าเลี้ยงปลาทอง ควรเลี้ยงจำนวน 8-12 ตัว ใช้อาหารเม็ดเป็นอาหารตามปกติ (อาจใช้อาหารลูกกบ "ไฮเกร์ด" หรืออาหารเม็ดเล็กสำหรับลูกปลาดุกก็ได้) หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงได้ 10 วัน จึงเติมหัวเชื้อ Chlorella ลงไปในบ่อปลาประมาณ 1 ลิตร ใช้เวลาเลี้ยงปลาต่อไปอีกประมาณ 10-20 วัน น้ำจะกลายเป็นน้ำเขียว การแพร่ขยายพันธุ์ของ Chlorella จนทำให้น้ำกลายเป็นน้ำเขียว จะเกิดได้รวดเร็วอย่างไรนั้น ยังขึ้นกับอุณหภูมิ ความเข้มแสง จำนวนปลาหางนกยูง และปริมาณอาหารที่ใช้เลี้ยง หมายเหตุ ไม่ควรใส่ปลาและให้อาหารมากเกินไป เพราะความเขียวของน้ำที่เกิดขึ้น จะไม่ใช่เกิดจาก Chlorella เพียงชนิดเดียว แต่จะมีแพลงตอนพืชอื่น ๆ เกิดขึ้นมากด้วย และมักจะมีขนาดใหญ่ซึ่งไรน้ำนางฟ้าไม่สามารถกรองกินเข้าปากได้ นอกจากนั้นหากมีสารประกอบไนโตรเจนที่เกิดจากการให้อาหารปลามากเกินไป จะทำให้เกิดแพลงตอนพืชกลุ่มสีน้ำเงินแกมเขียว ซึ่งจะมีผลทำให้ไรน้ำนางฟ้าตายได้อย่างรวดเร็ว 1.1.2 การเพาะเลี้ยง Chlorella โดยการใช้หญ้าแห้งและอาหารปลา การทำน้ำเขียววิธีนี้ใช้ภาชนะขนาดความจุ 50-100 ลิตร เช่นกะละมัง หรือถังซิเมนต์ ตั้งภาชนะในบริเวณที่ได้รับแสงแดดมากพออควร ใช้หญ้าชนิดใดก็ไดที่้ตากแห้งแล้วประมาณ 1 กำมือ ใส่ลงไป และใช้อาหารลูกปลาดุก 1-2 ช้อนชา แช่น้ำไว้ในถ้วยนานประมาณครึ่งชั่วโมง เทลงกระชอน ใช้มือบีบให้อาหารเละผ่านกระชอนออกไป แล้วนำไปเทลงในภาชนะที่เตรียมไว้ หลังจากนั้น 5 วัน จึงเติมหัวเชื้อ Chlorella ลงไปประมาณ 1 ลิตร (เติมอาหารปลาดุกตามวิธีดังกล่าวนี้ทุก 3-4 วัน ส่วนหญ้าแห้งใส่เพียงครั้งเดียว) ทำต่อไปประมาณ 15-25 วัน น้ำจะกลายเป็นน้ำเขียว หมายเหตุ ไม่ควรใส่อาหารปลามากเกินไปจะทำให้น้ำเน่า .
ภาพที่ 15 วิธีการเพาะเลี้ยง Chlorella หรือการทำน้ำเขียว และวิธีการใช้น้ำเขียว .
ภาพที่ 16 ลักษณะน้ำเขียวที่ไม่ได้เกิดจาก Chlorella . ข้อควรจำ 1. ควรดำเนินการจนได้น้ำเขียวอย่างแน่นอนแล้ว แล้วลองตักน้ำเขียวเทผ่านกระชอนผ้าเนื้อหนา หากน้ำไหลผ่านกระชอนได้อย่างง่ายดาย แสดงว่าได้น้ำเขียวที่เกิดจาก Chlorella นำไปใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าได้ดี จึงค่อยเริ่มฟักไข่ของไรน้ำนางฟ้า 2. การเลี้ยงน้ำเขียวในภาชนะควรเตรียมไว้ 2 บ่อ เนื่องจากเป็นการเลี้ยงแพลงตอนในภาชนะขนาดเล็ก การขึ้น-ลง (เกิดมากหรือลดลง) จะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากบ่อใดเปลี่ยนแปลงจะยังมีอีกบ่อที่ใช้เป็นอาหารได้ การขาดอาหารจะทำให้ไรน้ำนางฟ้าตายได้อย่างรวดเร็ว 3. หากต้องการใชัน้ำเขียวปริมาณมาก สามารถดำเนินการทำน้ำเขียวในบ่อซิเมนต์ขนาดใหญ่ได้ โดยการคำนวณ (ประมาณ) เพิ่มจำนวนหญ้าแห้งและอาหารปลา 4. การเลี้ยงน้ำเขียวด้วยหญ้าแห้ง อาหารปลา หรือมูลสัตว์ ในช่วงแรก ๆ จะเกิดแพลงตอนสัตว์มาก ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย โปรโตซัว และไรน้ำ จะต้องทิ้งไว้ประมาณ 30-40 วัน ให้อาหารของแพลงตอนสัตว์หมดไป จะทำให้แพลงตอนสัตว์หมดไปด้วย การทำน้ำเขียวโดยการเลี้ยงปลาหางนกยูงค่อนข้างจะให้น้ำเขียวที่ดี เนื่องจากแพลงตอนสัตว์จะถูกปลาหางนกยูงกินไปหมด 5. การเลี้ยงน้ำเขียวควรเตรียมหัวเชื้อของ Chlorella และน้ำเขียวที่ได้ในช่วงแรก ๆ ควรเก็บไว้เป็นหัวเชื้อของการเลี้ยงในครั้งต่อ ๆ ไป . 1.2 การฟักไข่ไรน้ำนางฟ้า อาจฟักไข่ไรน้ำนางฟ้าในกะละมังขนาดความจุประมาณ 3 ลิตรก่อน จะทำให้สังเกตุจำนวนไรน้ำนางฟ้าที่ฟักตัวได้ง่าย ควรเริ่มดำเนินการฟักไข่ในตอนเย็น เมื่อไรน้ำนางฟ้าฟักตัวในเช้าวันถัดไปจะดำเนินการปล่อยลงบ่อเลี้ยงและให้อาหารได้ง่าย 1.3 การดำเนินการเลี้ยง มีขั้นตอนการเลี้ยง ดังนี้ 1.3.1 การตั้งภาชนะ ควรตั้งภาชนะที่จะใช้เลี้ยงในที่ร่ม หากจำเป็นต้องวางกลางแจ้งให้ใช้วัสดุปิดบนภาชนะ ประมาณ 4 ใน 5 ส่วน ต้องการให้รับแสงแดดน้อยที่สุด เนื่องจากอาหารที่ใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า คือ น้ำเขียว (แพลงตอนพืช) ซึ่งเมื่อได้รับแสงแดดก็จะมีการสังเคราะห์แสง และให้ออกซิเจนออกมาในน้ำ ออกซิเจนที่ปล่อยออกมานี้หากมีมากเกินไป จะเกิดเป็นฟองอากาศเล็ก ๆ ขึ้นที่ตัวไรน้ำนางฟ้า จะทำให้ไรน้ำนางฟ้าตายได้ โดยเฉพาะไรน้ำนางฟ้าอายุ 1-3 วันแรก จะตายจากสาเหตุนี้ได้ง่ายมาก ไรมักจะตายหมดในช่วง 3-4 วันแรกของการเลี้ยง 1.3.2 การเติมน้ำและอาหาร (น้ำเขียว) ช่วงแรกควรเติมน้ำลงไปประมาณครึ่งภาชนะ นำไรน้ำนางฟ้าที่ฟักตัวแล้วมาปล่อย การเติมน้ำใหม่และน้ำเขียว (สำหรับภาชนะเลี้ยงความจุประมาณ 50 ลิตร) อาจทำได้ ดังนี้ - วันแรก เช้า เติมน้ำเขียวประมาณ 1 ลิตร (1 ขัน) - วันที่สอง เช้า เติมน้ำเขียวประมาณ 1 ลิตร (1 ขัน) และน้ำใหม่ 3 ลิตร (น้ำใหม่กระตุ้นการเติบโต) - วันที่สาม เช้า เติมน้ำเขียวประมาณ 2 ลิตร (2 ขัน) และน้ำใหม่ 3 ลิตร - วันที่สี่ เช้า เติมน้ำเขียวประมาณ 2 ลิตร (2 ขัน) และน้ำใหม่ 3 ลิตร - วันที่ห้า เช้า เติมน้ำเขียวประมาณ 2 ลิตร (2 ขัน) และน้ำใหม่ 3 ลิตร - หลังจากวันที่ห้า การเติมน้ำเขียวและน้ำใหม่ต้องมีการสังเกตุ คือ หลังจากเติมน้ำเขียว และน้ำใหม่ในตอนเช้าแล้ว ในตอนเย็นต้องสังเกตุว่าไรน้ำนางฟ้ากินอาหารหมดหรือไม่ ดูจากความเขียวของน้ำ ถ้าน้ำในบ่อเลี้ยงใสหรือค่อนข้างใสก็เติมน้ำเขียวเพิ่มอีก 1-2 ลิตร ในกรณีที่น้ำในบ่อเลี้ยงเต็ม ก่อนเติมน้ำเขียวและน้ำใหม่ก็วิดน้ำออกก่อน โดยวิดน้ำผ่านกระชอนผ้า (ดูภาพประกอบ) - ประมาณ 10-12 วัน ไรน้ำนางฟ้าจะเติบโตมีขนาด 1.5-2.5 เซนติเมตร สามารถนำไปเลี้ยงปลาได้อย่างดี ความรวดเร็วของการเติบโตจะขึ้นกับชนิดของไรน้ำนางฟ้า ไรน้ำนางฟ้าไทยจะกินอาหารเก่งมาก สามารถเติบโตมีขนาด 2.0-2.5 เซนติเมตร ภายในเวลา 10 วัน ส่วนไรน้ำนางฟ้าสิรินทรอาจต้องใช้เวลา 12-15 วันจึงเติบโตได้ขนาด 2.0 เซนติเมตร นอกจากนั้นการเติบโตของไรน้ำนางฟ้ายังขึ้นกับความหนาแน่นในการปล่อย รวมทั้งขนาดบ่อและการดูแลให้อาหาร .
ภาพที่ 17 การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในภาชนะ . 2. การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในภาชนะขนาดใหญ่ และในบ่อดิน การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในภาชนะขนาดใหญ่ เช่น ถังไฟเบอร์ หรือบ่อซิเมนต์ และในบ่อดิน 2.1 การเพาะเลี้ยง Chlorella ควรเตรียมน้ำเขียว หรือเพาะเลี้ยง Chlorella ในบ่อดินขนาดตั้งแต่ 100-600 ตารางเมตร ขึ้นกับปริมาณไรน้ำนางฟ้าที่ต้องการเลี้ยง การเตรียมน้ำเขียวในบ่อดินควรทำโดยการเลี้ยงปลา ชนิดปลาที่ควรปล่อยเลี้ยง ได้แก่ ปลาไน หรือปลานิล จำนวน 2 ตัวต่อตารางเมตร และปล่อยปลาที่จะช่วยกินไรน้ำต่าง ๆ ได้ เช่น ปลาสลิด หรือปลากระดี่ จำนวน 1 ตัวต่อตารางเมตร ไม่ควรปล่อยปลาที่กรองกินแพลงตอน เช่น ปลาเล่ง เลี้ยงปลาเป็นเวลา 1-2 เดือน ขึ้นกับขนาดปลาที่ปล่อยเลี้ยง เมื่อน้ำเขียวได้ที่แล้วจึงติดตั้งเครื่องสูบนำแบบจุ่มไว้ จะสามารถสูบน้ำเขียวไปยังบ่อเลี้ยงได้สะดวก 2.2 การดำเนินการเลี้ยง หากเลี้ยงในถังไฟเบอร์ ควรวางถังไฟเบอร์ในที่ร่มหรือใช้วัสดุปิดปากถัง เช่นเดียวกับการเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็ก แต่ถ้าเลี้ยงในบ่อดินก็ควบคุมเรื่องความเขียวของน้ำ อย่าให้น้ำในบ่อเลี้ยงเขียวมากเกินไป การฟักไข่ไรน้ำนางฟ้าก็สามารถทำได้ทั้งในถังไฟเบอร์ หรือในบ่อดินเลย หรือฟักในภาชนะขนาดเล็กก่อนก็ได้ หมายเหตุ การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในภาชนะขนาดใหญ่ หรือในบ่อดิน จะดำเนินการเลี้ยงได้ง่ายกว่าในภาชนะขนาดเล็ก สิ่งสำคัญคือ ต้องดำเนินการเตรียมการเลี้ยง Chlorella หรือทำน้ำเขียวให้ได้ก่อน .
ภาพที่ 18 การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในถังไฟเบอร์และในบ่อซิเมนต์ . ภาพที่ 19 การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในถังไฟเบอร์โดยใช้น้ำเขียวจากบ่อเลี้ยงปลานิล . ข้อควรจำ การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าให้ประสบผลสำเร็จ มีข้อควรพิจารณาดังนี้ 1. น้ำเขียวมีความสำคัญต่อการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอย่างยิ่ง น้ำเขียวที่ได้อาจไม่สามารถใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าได้ เพราะไม่ได้เกิดจาก Chlorella เพียงอย่างเดียว อาจเป็นแพลงตอนพืชอย่างอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าปาก ทำให้ไรน้ำนางฟ้าไม่สามารถกรองกินได้ ไรน้ำนางฟ้าก็จะทยอยตายไป ผู้เลี้ยงต้องกรองน้ำเขียวผ่านผ้าไนล่อนตาถี่ทุกครั้ง ถ้าน้ำเขียวไหลผ่านผ้ากรองได้ยากกว่าปกติ แสดงว่ามีแพลงตอนพืชชนิดอื่นเกิดขึ้น ควรล้างทิ้งแล้วเริ่มดำเนินการใหม่ * * * ควรมีการศึกษาวิธีการที่จะเพาะเลี้ยง Chlorella ที่ให้ผลอย่างรวดเร็วและแน่นอน เพื่อใช้เป็นอาหารในการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอย่างแท้จริง ก็จะสามารถพัฒนาการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าได้อย่างแพร่หลายจริงจัง 2. ศัตรูที่สำคัญต่อการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า คือ ไรน้ำ โดยเฉพาะ ไรขาว (Cyclop) ดังนั้นต้องกรองน้ำเขียวด้วยผ้าเนื้อหนาก่อนใส่ลงบ่อเลี้ยง กรณีทำน้ำเขียวในบ่อดิน ควรปล่อยปลาที่กินไรน้ำ หรือปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาสลิด ปลากระดี่ และปลาหางนกยูง จะช่วยลดปริมาณไรน้ำต่าง ๆ ได้อย่างดี . การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าเชิงพาณิชย์ การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าเชิงพาณิชย์ สามารถทำได้ทั้งในถังไฟเบอร์ บ่อซิเมนต์ และในบ่อดิน ประเด็นหลักในการเลี้ยงคือ 1. ทำอย่างไรที่จะให้สามารถเก็บรวบรวมไข่ในแต่ละวัน ให้ได้มากที่สุดและค่อนข้างสะอาด การสร้างบ่อรวบรวมไข่ที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง ได้ดำเนินการทดลองในโมเดลขนาดเล็กไว้แล้ว แต่เนื่องจากไม่ได้รับทุนสนับสนุนให้ดำเนินการต่อ จึงไม่สามารถขยายให้เห็นจริงได้ หน่วยงานใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ 2. ทำอย่างไรที่จะเพาะเลี้ยง Chlorella หรือทำน้ำเขียวในปริมาณมากให้เกิดต่อเนื่องได้ตลอดการเลี้ยง การดำเนินการเลี้ยง Chlorella ในบ่อดินจึงจะทำให้การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าเชิงพาณิชย์ประสบผลสำเร็จได้ ซึ่งจากภาพที่ 17 จะเห็นได้ว่าไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์ที่กินอาหารเก่งมาก ในแต่ละวันมีความต้องการ Chlorella ปริมาณมาก และจะต้องเป็น Chlorella ที่ค่อนข้างสะอาด คือ ต้องไม่มีแบคทีเรีย หรือโปรโตซัว และไรน้ำอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะ พารามีเซียม และไรขาว เพราะจะทำให้ไรน้ำนางฟ้าตายได้อย่างรวดเร็ว ควรที่หน่วยงานของรัฐน่าจะเร่งดำเนินการศึกษา จะทำให้เกษตรกรสามารถขยายการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าเชิงพาณิชย์ได้อย่างแน่นอน . 3. การเตรียมอาหารเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าจะยากกว่าการเลี้ยงอาร์ทีเมีย เพราะอาร์ทีเมียเลี้ยงในน้ำความเค็มค่อนข้างสูง ทำให้ไม่มีแบคทีเรียหรือโปรโตซัวที่จะไปทำอันตรายได้ ส่วนไรน้ำนางฟ้าอยู่ในน้ำจืดถึงแม้จะกรองกินอาหารเช่นเดียวกับอาร์ทีเมีย แต่ต้องการอารที่เป็นแพลงตอนพืชที่ดี และจะถูกทำอันตรายจากแบคทีเรียหรือโปรโตซัว หรือไรน้ำจืดที่มีอยู่ในน้ำได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าจะต้องพิถีพิถันในเรื่องการเตรียมอาหารอย่างมาก ทั้งหมดนี้เป็นการศึกษาที่ผมได้ดำเนินการต่อเนื่องมาหลายปี น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษา หรือต้องการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า หากได้ทำความเข้าใจแล้วก็น่าที่จะดำเนินการเลี้ยง และเก็บไข่ของไรน้ำนางฟ้าที่มีคุณภาพไว้ใช้เองได้อย่างง่าย ๆ . เนื่องจากมีผู้อ่านหลายท่านหวังดี ได้ส่งสูตรปุ๋ยสำหรับการเพาะเลี้ยง Chlorella มาให้ ผมขอชี้แจงเพิ่มเติมเล็กน้อยครับ 1. สูตรปุ๋ยสำหรับการเพาะเลี้ยง Chlorella ทางผมก็มีอยู่แล้ว แต่ผมเห็นว่าสูตรเหล่านั้นเหมาะสำหรับการเตรียมอยู่ในห้องปฏิบัติการ ลองมาแล้วหลายสูตรไม่ค่อยได้ผลเมื่อต้องการปริมาณมาก และทำภายนอกอาคาร นอกจากนั้นยังยุ่งยากเมื่อต้องมีการตักออกไปใช้ ทั้งการเติมน้ำและการเพิ่มปุ๋ย และเมื่อตักไปใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า ไรก็อ่อนแอ 2. วัสดุอุปกรณ์ที่ผมเขียนแนะนำ ดูเหมือนเป็นวัสดุที่ล้าสมัย ที่จริงทางเราก็มีวัสดุอุปกรณ์ที่ดีกว่าในภาพ เช่นสายยางกาลักน้ำ ก็มีสายลักน้ำแบบบีบหรือเขย่า หรือใช้ปั๊มช่วย แต่ผมพยายามเน้นผู้เลี้ยงมือใหม่ให้ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง ส่วนผู้เลี้ยงที่เลี้ยงปลาสวยงามมามากแล้วแค่บอกว่าทำกาลักน้ำก็มองเห็นภาพอุปกรณ์ที่จะใช้ได้แล้ว 3. การเลี้ยง Chlorella ให้ได้ต่อเนื่องในบ่อดินจะมีความสำคัญมาก เพราะจากที่เคยลองเลี้ยงไรจำนวนมากในถังไฟเบอร์ 4 ใบ ต้องใช้น้ำเขียววันละประมาณ 300 ลิตร ก็ไม่สามารถผลิตน้ำเขียวให้มีใช้ต่อเนื่องทุกวันได้ ผมคิดว่าถ้าสามารถส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าทำน้ำเขียวได้จริง การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในบ้านเราจะขยายตัวได้ทันที ผมถึงบอกว่าการศึกษาการทำน้ำเขียวจำนวนมากให้มีความต่อเนื่องจึงมีความสำคัญมาก 4. ที่ต้องฝากเรื่องการเลี้ยง Chlorella ในบ่อดินให้ได้ต่อเนื่องนั้น เพราะผมเกษียณอายุราชการแล้ว ตั้งแต่ กันยายน 2554 หวังว่าคงมีนักวิชาการที่สนใจ เห็นความสำคัญ ลงมือดำเนินการนะครับ ประโยชน์ที่เกิดจากการศึกษาครั้งนี้ขอมอบให้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ข้อมูลเพิ่มเติม 21 มิถุนายน 2556 เป็นเวลา 1 ปีพอดีกับข้อมูลเรื่องไรน้ำนางฟ้าที่นำมาลงไว้ คิดว่าหลายท่านคงได้ลองเลี้ยงไรน้ำนางฟ้ากันมาแล้ว และหลายท่านคงเห็นด้วยกับผมว่าการเตรียมอาหารหรือการเลี้ยง Chlorella เป็นเรื่องสำคัญ ในช่วงที่ผ่านมาผมก็ยังคงลองเลี้ยงและเก็บรวบรวมไข่ของไรน้ำนางฟ้า ทำให้มีข้อมูลมาเขึยนเพิ่มเติมได้บ้าง 1. เพิ่มเติมการผสมพันธุ์ของไรน้ำนางฟ้า ตามที่ได้เขียนไว้เมื่อปีที่แล้วว่าไรน้ำนางฟ้ามีวิธีการผสมพันธุ์คล้ายกับกุ้งทะเล คือเพศผู้จะมีการงอตัวรัดส่วนท้องของเพศเมียพร้อมกับการปล่อยถุงน้ำเชื้อไปที่ตัวเพศเมีย ข้อมูลที่ขอเพิ่มเติม คือ ไรน้ำนางฟ้าเพศผู้ที่สมบูรณ์จะมีถุงอัณฑะ 2 ถุง อยู่สองข้างของท่อทางเดินอาหารท้ายส่วนท้องข้างละ 1 ถุง การปล่อยถุงน้ำเชื้อของเพศผู้ก็จะคล้ายกับกุ้งทะเลด้วย คือจะปล่อยถุงน้ำเชื้อทีละถุงเช่นกัน เมื่อปล่อยหมดทั้ง 2 ถุงแล้วจะสร้างถุงน้ำเชื้อขึ้นใหม่ภายใน 1-2 วัน ภาพที่ 20 ไรน้ำนางฟ้าเพศผู้ที่สมบูรณ์จะมีถุงอัณฑะอยู่สองข้างของท่อทางเดินอาหารข้างละ 1 ถุง
ภาพที่ 21 ไรน้ำนางฟ้าเพศผู้ที่เหลือถุงอัณฑะ 1 ถุงหลังจากผสมพันธุ์
2. เพิ่มเติมการเตรียมน้ำเขียวหรือการเลี้ยง Chlorella สำหรับการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในภาชนะขนาดเล็ก จากเดิมการเตรียมน้ำเขียวหรือการเลี้ยง Chlorella โดยการเลี้ยงปลา เช่น ปลาหางนกยูง หรือ ปลาทอง นั้น พบว่าจะเกิดน้ำเขียวที่เกิดจากแพลงตอนพืชที่ไม่ใช่ Chlorella ซะมากกว่า เมื่อลองดมกลิ่นน้ำจะได้กลิ่นเหม็นของน้ำ จึงลองวิธีการใหม่โดยการเตรียมกะละมังเปล่าที่ไม่มีการเลี้ยงปลา แล้วดูดตะกอนและมูลของปลาจากกะละมังเลี้ยงปลาทอง (ที่เริ่มต้นเลี้ยงใหม่เช่นกัน) ในช่วงแรกเน้นต้องการตะกอนและมูลปลาทอง (ได้น้ำมาประมาณ 5 ลิตร) มาเทลงในกะละมังเปล่าที่เตรียมไว้ ทำไปทุกวันจนได้น้ำเต็มกะละมังใหม่ ปิดฝาบังแดดประมาณ 1 ใน 3 ของปากกะละมัง ทิ้งไว้ 15-20 วันจะเกิด Chlorella (ถ้ามีหัวเชื้อ Chlorella มาเติมจะยิ่งดี แต่ไม่มีก็ไม่เป็นไร) ในขณะที่รอให้เกิดน้ำเขียวต้องตักน้ำในบ่อเลี้ยงปลาทองทิ้งประมาณ 1 ใน 3 ของกะละมัง แล้วเติมน้ำใหม่ เพื่อไม่ให้น้ำในบ่อปลาทองหมักหมมเกินไป แล้วเกิดแพลงตอนพืชที่ไม่ใช่ Chlorella ซะก่อน เมื่อสีน้ำในกะละมังใหม่เริ่มเขียวเข้มขึ้น ลองตักไปเทผ่านกระชอนผ้าชนิดหนา ถ้าน้ำไหลผ่านได้เร็วแสดงว่าแพลงตอนพืชที่เกิดขึ้นใช่ Chlorella ก็สามารถตักน้ำเขียวไปใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าได้ วิธีการใหม่นี้พบว่าสามารถตักน้ำเขียวจากกะละมังดังกล่าวไปใช้ได้ประมาณ 1 ใน 3 ของกะละมัง แล้วตักน้ำจากบ่อเลี้ยงปลาทองมาเติม โดยพยายามกวนตักเอาตะกอนและมูลปลาทอง (ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาใช้วิธีกาลักน้ำ) จากนั้นเปิดน้ำใหม่เติมน้ำในบ่อปลาทอง ทำเช่นนี้ไปทุกวันจะมีน้ำเขียวเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอย่างต่อเนื่องได้มากพอสมควร ภาพที่ 22 การเตรียมน้ำเขียวหรือการเลี้ยง Chlorella โดยใช้น้ำจากบ่อเลี้ยงปลาทอง
ภาพที่ 23 น้ำเขียวหรือการเลี้ยง Chlorella ที่ได้
ภาพที่ 24 น้ำเขียวที่ได้เมื่อนำไปเทผ่านกระชอนผ้าเนื้อละเอียดจะสามารถไหลผ่านผ้าได้ดีและไม่มีตะกอนตกค้าง
ภาพที่ 25 สามารถตักน้ำเขียวไปใช้ได้ประมาณ 1 ใน 3 ของภาชนะต่อวัน (จากภาพได้วันละ 15 ลิตร)
ภาพที่ 26 การเลี้ยงปลาทองเพื่อนำน้ำไปเลี้ยง Chlorella
ภาพที่ 27 ลักษณะน้ำที่ตักจากบ่อเลี้ยงปลาทอง
ภาพที่ 28 ตักน้ำจากบ่อเลี้ยงปลาทองไปแล้วจึงเติมน้ำใหม่
ภาพที่ 29 น้ำเขียวจากบ่อหรือตู้เลี้ยงปลาทอง ที่เลี้ยงนาน 2-3 เดือนจะเป็นน้ำเขียวที่ไม่ใช่ Chlorella
ภาพที่ 30 ลักษณะน้ำเขียวจากภาพที่ 29 จะมีตะกอนมาก ไหลผ่านผ้าเนื้อละเอียดยาก
3. เพิ่มเติมวิธีการรวบรวมไข่ของไรน้ำนางฟ้า เมื่อรวบรวมไข่ของไรน้ำนางฟ้าและแช่น้ำไว้เป็นเวลาตามชนิดของไรน้ำนางฟ้า (ไรน้ำนางฟ้าไทย 10 วัน ส่วนไรน้ำนางฟ้าสิรินธร 6 วัน) ก็เทไข่ลงในถุงผ้า (ไรน้ำนางฟ้าไทย ใช้ผ้าไนล่อนธรรมดา ส่วนไรน้ำนางฟ้าสิรินธร ใช้ผ้าไนล่อนเนื้อหนา) แล้วนำไปแขวนตากแดด วันต่อมาสามารถนำไข่ของไรน้ำนางฟ้าที่แช่น้ำไว้ครบอายุแล้วมาเทเพิ่มเติมได้ คือถุงผ้า 1 ถุง สามารถใช้เก็บไข่ได้ค่อนข้างมากตามความพอใจของผู้ดำเนินการ เมื่อคิดว่าได้มากพอแล้ว ก็ตากทิ้งไว้ให้แห้งสนิท (3 วัน) แล้วฉีดน้ำให้เปียกชุ่ม จากนั้นนำไปตากให้แห้งอีก ทำแบบนี้ประมาณ 4-5 ครั้ง เป็นการเลียนแบบธรรมชาติที่ผืนนาจะได้รับน้ำฝนในช่วงต้นฤดูกาล แต่ยังไม่มากพอที่จะมีน้ำขังในผืนนา จากนั้นจึงเก็บถุงไข่ไว้ เมื่อต้องการฟักไข่ไรน้ำนางฟ้าเมื่อใดก็สามารถนำไปแช่น้ำฟักได้เลย วิธีการนี้จะยิ่งทำให้ไข่มีการฟักตัวได้ดีมาก ภาพที่ 31 ลักษณะการเก็บรวบรวมไข่ของไรน้ำนางฟ้าในถุงผ้า
ก็มีข้อมูลเพิ่มเติม 3 หัวข้อตามนี้นะครับ อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงวิธีการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในภาชนะขนาดเล็ก ซึ่งการเตรียมน้ำเขียวหรือการเลี้ยง Chlorella ยังหาความแน่นอนได้ยาก การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในบ่อดินจะทำให้ประเทศไทยสามารถขยายผลผลิตไรน้ำนางฟ้าได้ เพราะการทำน้ำเขียวในบ่อดินจะง่ายกว่า แต่น่าเสียดายที่เกษตรกรที่มีฟาร์มเลี้ยงปลาอาจไม่ได้เข้าถึงข้อมูล ขอให้นักวิชาการได้นำข้อมูลลองไปให้เกษตรกรได้ทดลองดำเนินการในบ่อดิน น่าจะทำให้การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าประสพผลดีมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง Ruppert, E.E. and R. D. Barnes. 1994. Invertebrate Zooology. Sixth Edition. Saunders College Publishing. Florida. 1056 pp.
|
พร้อมไข่ในถุงไข่
ไรน้ำนางฟ้าเพศเมีย ที่ปล่อยไข่แล้ว
ไรน้ำนางฟ้าเพศผู้
|