cleft@kku.ac.th-โลโก้มูลนิธิตะวันฉาย โลโก้ศูนย์
![]() ศูนย์ตะวันฉาย หรือ ศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการตะวันฉาย ได้รับการประกาศจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เป็นศูนย์วิจัย เฉพาะทางของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 85/2550 เรื่อง “ การจัดตั้งโครงการกลุ่มวิจัยและศูนย์วิจัยเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2549 ” ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม 2550 ในปีงบประมาณ 2549 โดยมีความเป็นมาจาก “ ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ 2 ของ “ โครงการพระราชทานตะวันฉาย” ที่มีแนวทาง การดำเนินกิจกรรม 9 กิจกรรม คือ
ประวัติความเป็นมาของโครงการพระราชทานตะวันฉาย และ ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการพระราชทานตะวันฉาย
โครงการตะวันฉาย เป็นโครงการเพื่อให้บริการและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าในประเทศไทย เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วัตถุประสงค์ของโครงการตะวันฉาย
แนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการตะวันฉาย
โครงการจัดตั้ง ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการตะวันฉาย Center of Cleft Lip-Cleft Palate and Craniofacial Deformities, Khon Kaen University in association with Tawanchai Project
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าเป็นความพิการแต่กำเนิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหลายด้านและมีความซับซ้อน ซึ่งมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย บิดามารดาและผู้ปกครอง รวมถึงการสูญเสียทางเศรษฐกิจของชาติ โดยความพิการทางร่างกายที่เห็นเด่นชัดคือ รูปร่างและเค้าโครงของใบหน้า การพูดไม่ชัด ภาวะแทรกซ้อนหูชั้นกลางอักเสบ การได้ยิน ระบบการกลืน ปัญหาเกี่ยวกับฟัน การสบฟัน รวมถึงพัฒนาการและการเจริญเติบโตช้า จากการศึกษาที่ผ่านมาพบอัตราการเกิดอุบัติการณ์ในผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 2.5 รายต่อเด็กแรกเกิด 1,000 ราย ซึ่งเป็นอัตราที่อยู่ในกลุ่มอุบัติการณ์ที่สูงที่สุดในโลก และสามารถประมาณการณ์ได้ว่าจะมีเด็กแรกเกิดใหม่ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราสูงถึง 800 รายต่อปี หรือทั่วประเทศประมาณปีละกว่า 2,000 ราย การให้การรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ในประเทศไทยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มักเป็น การรักษาที่มุ่งเน้น ที่การผ่าตัด หรือการให้การดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์แต่ละฝ่ายแยกกัน โดยขาดการประสานงานในการ วางแผนการรักษาและการให้การรักษาร่วมกันแบบทีมสหวิทยาการ ซึ่งทำให้ผลการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ เป็นการรักษาเฉพาะปัญหา และทำให้บางปัญหาของผู้ป่วยถูกละเลย เกิดการให้การรักษาแบบซ้ำซ้อน หรือภาวะแทรกซ้อนโดยไม่จำเป็น ซึ่งเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจและทำให้การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยเป็นไปได้ ไม่สมบูรณ์ การรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ จำเป็นต้องอาศัยการรักษาและติดตามผลเป็นระยะเวลายาวอย่างต่อเนื่องจนผู้ป่วยโตเป็นผู้ใหญ่โดยสมบูรณ์ การดูแลแบบทีมสหวิทยาการโดยบุคลากรหลายสาขาที่เชี่ยวชาญเฉพาะร่วมกัน จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน การสูญเสียทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสภาพโดยสมบูรณ์และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย แห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 โดยมีการผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่รายแรกในปี พ.ศ. 2521 ต่อมาได้มีการตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ อย่างต่อเนื่องมีการจัดทีมบริการผู้ป่วย จากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาในลักษณะของสหวิทยาการ ประกอบด้วยศัลยแพทย์ตกแต่งจากภาควิชาศัลยศาสตร์ กุมารแพทย์ ประสาทศัลยแพทย์ แพทย์โสต ศอ นาสิก พยาบาล และทันตแพทย์จากแผนกทันตกรรมของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในปี พ.ศ. 2533 มีการบริการผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ร่วมกับภาควิชาทันตกรรมจัดฟันของคณะ ทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการฝึกอบรมบุคลากรจากประเทศออสเตรเลีย โดย Professor Keith Godfrey อดีตหัวหน้าภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มีการจัดอบรมการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ. ศ. 2535 และครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ. 2537 จากนั้นได้มีการเปิดให้บริการทันตกรรมดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ขึ้นที่คณะทันตแพทยศาสตร์ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีความพยายามในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ โดยมีการรวมตัวกันของบุคลากรขึ้นในลักษณะของกลุ่มวิจัยในนามกลุ่มวิจัย “ การบริการผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และ ความผิดปกติของใบหน้าแบบสหวิทยาการ” (Multidisciplinary management of cleft lip, cleft palate and craniofacial anomalies) โดยมีหัวหน้ากลุ่มคือ รศ.นพ. บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น (ตำแหน่งในขณะนั้น) หัวหน้าหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง แห่งภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ประกอบด้วย แพทย์จากสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สูตินรีแพทย์ กุมารแพทย์ ศัลยแพทย์ตกแต่ง ประสาทศัลยแพทย์ แพทย์โสตศอนาสิก ทันตแพทย์จัดฟัน ทันตแพทย์ศัลยศาสตร์ช่องปากและขากรรไกร วิสัญญีแพทย์ จิตแพทย์ นักแก้ไขการพูด พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และนักชีวสถิติ โดยมี Professor Keith Godfrey ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ในการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่จาก Royal Alexandra Hospital for Children ประเทศออสเตรเลีย เป็นที่ปรึกษา โดยในระยะแรกได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมจากฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มวิจัยดังกล่าวได้ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ทั้งในด้านการวิจัย การบริการผู้ป่วย และการจัดกิจกรรมวิชาการอย่างต่อเนื่อง มีการตั้งคลินิกพิเศษให้บริการผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่แบบสหวิทยาการในทุกวันศุกร์ที่ 4 ของเดือน ในปี พ.ศ. 2543 มีโครงการจัดตั้ง “ ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าขึ้น โดยได้ทำความร่วมมือและได้รับการสนับสนุน จากองค์กร The Smile Train Charity Organization เพื่อช่วยพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยและ การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ภายใต้ชื่อโครงการ “The Smile Train Cleft Care Project: Khon Kaen University Cleft Center” ในปี 2546 ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ในการจัดตั้งโครงการตะวันฉาย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นศูนย์กลางในการให้บริการและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าในประเทศไทย กิจกรรมที่ดำเนินการโดยทีมงานสหวิทยาการดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะ และใบหน้า โดยมีกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นด้านการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ครอบครัว และผู้เกี่ยวข้อง การพัฒนาคุณภาพ ของกระบวนการดูแลผู้ป่วยทั้งการป้องกันและรักษาที่มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า โดยดำเนินการภายใต้ชื่อ “ โครงการตะวันฉาย” ในวันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2547 ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด “ ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ณ อาคารคลินิกทันตกรรม 1 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้มีการดำเนินงานจนกระทั่ง ในปีงบประมาณ 2549 ศูนย์ฯ ได้รับการอนุมัติจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เป็นศูนย์วิจัยเฉพาะทางของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อ “ ศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการตะวันฉาย” ตามประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 85/2550 เรื่อง “ การจัดตั้งโครงการกลุ่มวิจัยและศูนย์วิจัยเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2549 ” ประกาศ
|